วันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง



 อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง
แนวคิด
           อิเหนา เป็นวรรณคดีที่ได้รับการยกย่องของบทละครลำ เพราะเป็นหนังสือซึ่งแต่งดีทั้งกลอน ทั้งความ และทั้งกระบวนการที่ตะเล่นละครประกอบการ และยังเป็นหนังสือที่ดี ในทางที่ตะศึกษาประเพณีไทยสมัยโบราณ  แม้บทละครเรื่องอิเหนาจะมีเค้าโครงมาจากนิทานพื้นเมืองของชาวชวา  เอกสารที่เกี่ยวข้องมีดังนี้
 ๑.ความเป็นมา
  ๒.ประวัติผู้แต่ง
 ๓.ลักษณะคำประพันธ์

ความเป็นมา
           อิเหนา เป็นวรรณคดีที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ซึ่งชาวชวาได้แต่งขึ้นเอเฉลิมพระเกียรติแด่พระมหากษัตริย์ ชวาพระองค์นี้ทรงนำความเจริญให้แก่ชาวชวา ซึ่งพระองค์เป็นทั้งนักรบ นักปกครอง และพระองค์ทรงมี พระราชธิดา ๑ พระองค์ และพระราชโอรส ๒ พระองค์ เมื่อพระราชธิดาของพระองค์ได้ทรงเสด็จออกผนวช จึงได้แบ่งราชอาณาจักรเป็น ๒ ส่วน คือกุเรปัน และ ดาหา
        ต่อมาท้าวกุเรปันได้ทรงมีพระราชโอรสพระองค์หนึ่ง และท้าวดาหาทรงมีพระราชธิดาพระองค์หนึ่ง ซึ่งทั้งสองพระองค์มีพระนามว่า อิเหนาและบุษบา เมื่อเจริญพระชันษา อดีตพระราชธิดาของกษัตริย์พระองค์เดิมที่เสด็จออกผนวช จึงมีพระดำริให้อิเหนาและบุษบาอภิเษกกัน เพื่อให้กุเรปันและดาหากลับมารวมกันเป็นราชอาณาจักรเดียวกันดั่งเดิม
       เนื่องจากนิทานอิเหนาเป็นเรื่องราวที่ได้รับความนิยมจากชาวชวาเป็นอย่างมาก เนื้อเรื่องจึงปรากฏเป็นหลายสำนวน และเมื่อได้เข้ามาสู่ประเทศไทย มีคำกล่าวสืบเนื่องกันมาว่าพระราชิดาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศกับเจ้าฟ้าสังวาล  คือ  เจ้าฟ้ากุณฑลและเจ้าฟ้ามงกุฎได้ฟังนิทานอิเหนาจากนางกำนัลชาวมลายูที่ได้มาจากเมืองปัตตานี พระราชธิดาทั้งสองพระองค์จึงมีพระราชธิดาจึงมีพระราชนิพนธ์ขึ้นนิทานเรื่องนี้ขึ้น เจ้าฟ้ากุณฑลทรงนิพนธ์บทละครเรื่องของดาหลัง ส่วนเจ้าฟ้ามงกุฎทรงนิพนธ์เป็นละครเรื่อง  อิเหนา  แต่คนทั่วไปมักเรียกบทพระราชนิพนธ์ของทั้งสองพระองค์นี้ว่า อิเหนาใหญ่ และอิเหนาเล็ก  นิทานปันหยีของไทยจึงมี ๒ สำนวนแต่นั้นมา
       สมัยรัตนโกสินทร์  พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชก็ทรงพระราชนิพนธ์บทละคร อิเหนา ขึ้น โดยยังคงเค้าโครงเรื่องเดิม ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้พระราชนิพนธ์ขึ้นมาใหม่ทั้งหมด เนื่องจาก เนื้อความเข้ากันไม่สนิทกับบทเมื่อครั้งกรุงเก่าและนำมาเล่นละครได้ไม่เหมิจึงทรงพระราชนิพนธ์ใหม่ให้สั้นและสอดคล้องกับท่ารำโดยรักษากระบวนการเดิม แล้วพระราชทานให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงพิทักษ์มนตรีซึ่งเชี่ยวชาญในการละคร ได้นำไปประกอบท่ารำและฝึกซ้อมจนเห็นสมควรว่าดี แล้วจึงรำถวายให้ทอดพระเนตรเพื่อให้มีพระบรมราชวินิจฉัยอีครั้งเป็นอันเสร็จ

ประวัติผู้แต่ง
        อิเหนาเป็นบทละครรำพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมหาราช รัชกาลที่ ๒ แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี ตลอดระยะเวลาที่พระองค์ทรงครองราชย์ เป็นสมัยที่วรรณคดีเจริญที่สุดในสมัยนี้หลาย เรื่องได้รับการยกย่องว่าเป็นยอดของวรรณคดี  และทรงได้รับการเทิดพระเกียรติจากองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ในฐานะบุคคลสำคัญของโลก
ลักษณะคำประพันธ์
     บทละครรำ เรื่อง อิเหนา มีรูปแบบการแต่งกลอนบทละครซึ่งมีลักษณะบังคับเหมือนกลอนสี่สุภาพ แต่ละวรรคมักจะขึ้นต้นด้วยคำว่า “เมื่อนั้น” “บัดนั้น” และ “มาจะกล่าวบทไป”
   แผนผังและตัวอย่างบทละคร
                                 บัดนั้น                                                   ดะหมังผู้มียศถา
                      นับนิ้วบังคมคัลวันทา                                       ทูลถวายสาราพระภูมี
                                  เมื่อนั้น                                                  ระตูหมันหยาเรืองศรี

                       รับสารมาจากเสนี                                             แล้วคลี่ออกอ่านทันใด

คำศัพท์จากเรื่อง อิเหนา ตอนศึกกระมังกุหนิง

ศัพท์เรื่อง อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง


กระทรวง          หมู่

กระยาหงัน        สวรรค์

กราย                เคลื่อนไหวอย่างมีท่าทีหรือลีลาในการใช้อาวุธ

กลับกลอก        พลิกไปพลิกมา ที่นี้หมายถึงขยับอาวุธ

กล่าว                ที่นี้หมายถึง สู่ขอ

กะระตะ             กระตุ้นให้ม้า้เดิน หรือ วิ่ง

กั้นหยั่น            อาวุธ สำหรับเหน็บติดตัว

กัลเม็ด              ปุ่มที่ฝักอาวุธ

กิดาหยัน          ผู้รับใช้ใกล้ชิดพระเจ้าแผ่นดิน

กิริณี                ช้าง

แกว้วพุกาม       แก้วมีค่าจากเมืองพุกามในพม่า

เขนงปืน           เขาสัตว์ที่ใช้ใส่ดินปืน

โขลนทวาร        ประตูป่า

งาแซง              ไม้เสี้ยมปลายแหลม สำหรับวางเรียงป้องกันข้าศึก

จตุรงค์             ทัพสี่เหลา่าคือ ช้าง ม้า รถ และ พลเดินเท้้า

ชักปีกกา          จัดกองทัพเป็นรูปปีกกา

ชีพอ่                นักบวช/พราหมณ์

ดวงยิหวา          ผู้เป็นที่รักยิ่ง

ดะหมัง              ตำแหน่ง ขุนนางผู้ใหญ ในชวา มี ๔ ตำแหน่ง คือ ยาสา ตำมะหงง ปูนตา และดะหมัง

ดัสกร               ศัตรู

ดูผี                   เยี่ยม เคารพศพ

ตุนาหงัน           หมั้นหมาย

ถอดโกลน        ชักเท้าจากโกลน (ห่วงที่ห้อยลงมาจากอานม้า)

ไถ้                    ถุงสำหรับใส่เงิน และสิ่งของ มักคาดไว้ที่เอว

นามครุฑ           การตั้งค่ายเป็นรูปครุฑ

บุหรง                นก บางครั้งหมายถึง นกยูง

ประเจียด          ผ้าที่ใช้ลงอาคม ใช้ในการป้องกันอันตรายในการสู้รบ

ประเสบัน          ตำหนัก

ป่วยขา             บาดเจ็บที่ขา

ปักมาหงัน         ชื่อเมืองของระตูผู้เป็นบิดาของสังคามาระตา

พหลพลขันธ์     กองทัพใหญ่

ฟันไม้ข่มนาม    พิธีที่ทำก่อน ออกรบเพื่อเป็นการบำรุงขวัญทหาร
                       โดยนำเอาต้นไมที้่มีชื่อร่วมตัวอักษรกับชื่อข้าศึกมาฟันให้ขาดประหนึ่งว่าได้ฟันข้าศึก

ม่านสองไข       ม่า่น ๒ ชาย ที่แหวกกลางไปรวบไว้ที่ด้านข้้าง

มุรธาวารี ภิเษก น้ำที่ผ่าน พิธีกรรมเพื่อทำให้ศักดิ์สิทธิ์

ย่่างที สะเทิน     การเดิน อย่่างเร็วของช้า้ง

เรื่องย่อ อิเหนา


เรื่องย่ออิเหนา 



เนื้อเรื่องตอนที่ 1 บ้านเมืองและกำเนิดตัวละคร


ในชวาสมัยโบราณ มีกษัตริย์ปกครองเมืองใหญ่เมืองน้อย กษัตริย์วงศ์เทวาซึ่งถือว่าเป็นชาติตระกูลสูงสุด ด้วยสืบเชื้อสายมาจากเทวดา ใช้คำนำหน้าพระนามว่า ระเด่น ส่วนกษัตริย์นอกวงศ์นั้น ใช้คำว่า ระตู เริ่มต้นบทละครเรื่องนี้ กล่าวถึงกษัตริย์วงศ์ 4 องค์ ต่างเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดา ทรงพระนามว่าท้าวกุเรปัน ท้าวดาหา ท้าวกาหลัง ท้าวสิงหัดส่าหรี ครองเมือง 4 เมือง ซึ่งมีชื่อเช่นเดียวกับพระนามกษัตริย์ ทุกพระองค์ต่างก็มีมเหสี 5 องค์ ตามประเพณี เรียงลำดับศักดิ์ คือ ประไหมสุหรี มะเดหวี มะโต ลิกู และเหมาหลาหงี ประไหมสุหรีของท้าวกุเรปันและท้าวดาหานั้น เป็นธิดาของกษัตริย์หมันหยาเมืองใหญ่อีกเมืองหนึ่ง จึงทำให้เมืองหมันหยามีความเกี่ยวดองกับกษัตริย์วงศ์เทวามากขึ้น ท้าวกุเรปันมีโอรสกับลิกูองค์หนึ่งทรงพระนามว่า กระหรัดตะปาตี ซึ่งได้หมั้นไว้กับบุษบารากา ธิดาของท้าวกาหลังซึ่งเกิดจากลิกู ต่อมาพระองค์ปรารถนาจะให้ประไหมสุหรีมีโอรสบ้าง จึงได้ทำพิธี
บวงสรวง ก่อนประไหมสุหรีทรงครรภ์ก็ได้สุบินว่าพระอาทิตย์ทรงกลดลอยมาตกตรงหน้า และนางรับไว้ได้ เมือประสูติก็เกิดอัศจรรย์ต่าง ๆ เป็นนิมิตดี องค์ปะตาระกาหลาซึ่งเป็นเทวดาต้นวงศ์บนสวรรค์ เหาะนำกริชมาประทานให้ พร้อมทั้งจารึกนามโอรสด้วยว่า อิเหนา ต่อมาประไหมสุหรีได้ธิดาอีกหนึ่งองค์ พระนามว่า วิยะดา ฝ่ายท้าวดาหา ประไหมสุหรีก็ประสูติธิดา ได้พระนามว่า บุษบา ขณะประสูติก็เกิดอัศจรรย์ก็มี กลิ่นหอมตลบทั่วเมือง หลังจากประสูติบุษบาแล้ว ประไหมสุหรีก็ประสูติโอรสอีก พระนามสียะตรา
ท้าวกาหลังมีธิดา พระนามสะการะหนึ่งหรัด ท้าวสิงหัดส่าหรีมีโอรส พระนามสุหรานากง และธิดาพระนาม จินดาส่าหรี
กษัตริย์ในวงศ์เทวาจึงได้จัดให้มีการตุนาหงันกันขึ้น ระหว่างโอรสและธิดาในวงศ์เดียวกันโดยให้ อิเหนาหมั้นไว้กับบุษบา กระหรัดตะปาตีกับบุษบารากา สียะตรากับวิยะดา สุหรานากงกับสะการะหนึ่งหรัด แต่ก่อนจะมีการแต่งงาน ความยุ่งยากก็เกิดขึ้น


เนื้อเรื่องตอนที่ 2 ความขัดแย้ง ต้นเหตุของความยุ่งยาก
จุดเริ่มต้นที่เป็นปัญหาหรืออุปสรรคที่ทำให้ตัวละครประกอบความยุ่งยาก และเกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ มากมายอันเป็นการดำเนินเรื่อง
ของบทละครเรื่องนี้ เกิดจากอัยยิกาของอิเหนาที่เมืองหมันหยาสิ้นพระชนม์ อิเหนาจึงเสด็จไปในงานพระเมรุแทนท้าวกุเรปัน แต่เสร็จพิธีแล้วอิเหนาไม่ยอมกลับ เพราะหลงรักนาง จินตะหรา ธิดาท้าวหมันหยา จนท้าวกุเรปันต้องมีสารไปเตือน เมื่อกลับมากรุงกุเรปันแล้วและใกล้เวลาอภิเษกกับบุษบา อิเหนาก็ไม่ใคร่เต็มใจ จึงออกอุบายทูลลาพระบิดาไปประพาสป่า แล้วปลอมองค์เป็น ปันหยีหรือโจรป่า นามว่ามิสาระปันหยี คุมไพร่พลรุกรานเมืองต่าง ๆ เมื่อเสด็จไปถึงเมืองใดก็ได้เมืองนั้นเป็นเมืองขึ้น ระตูหลายเมืองได้ถวายโอรสและธิดาให้ ที่สำคัญคือระตูปันจะรากันและระตูปักมาหงัน ได้ถวายธิดาคือมาหยารัศมีและสะการวาตี ซึ่งต่อมาได้เป็นชายาของอิเหนา และถวายโอรสคือสังคามาระตา ซึ่งอิเหนายกย่องให้เป็นน้องและเป็นทหารคู่ใจ กองทัพของปันหยีรอนแรมไปจนถึงเมืองหมันหยา ท้าวหมันหยาไม่กล้าต่อสู้และยอมยกธิดาให้ แต่พอรู้ว่าเป็นอิเหนา ท้าวหมันหยาไม่ยอมปฏิบัติตามสัญญา อิเหนาจึงลอบเข้าหานางจินตะหราและได้เสียกัน ท้าวหมันหยาก็ไม่สามารถแก้ไขอะไรได้


พอถึงกำหนดการอภิเษก ท้าวดาหาก็มีสารถึงท้าวกุเรปันให้เตรียมพิธีอภิเษก แต่อิเหนาบอกปัด ทำให้ท้าวดาหาโกรธมาก จึงประกาศจะยกบุษบาให้กับใครก็ได้ที่มาขอ เพราะฉะนั้นเมื่อระตูจรกา กษัตริย์รูปชั่วตัวดำ ให้พี่ชายคือระตูล่าสำไปสู่ขอบุษบาให้ตน ท้าวดาหาก็ยอมยกให้ ต่อมา ท้าวกระหมังกุหนิง ส่งทูตมาสู่ขอบุษบาให้วิหยาสะกำซึ่งเป็นโอรส แต่ท้าวดาหาปฏิเสธเพราะได้
ยกให้ระตูจรกาไปแล้ว เป็นเหตุให้ท้าวกะหมังกุหนิงโกรธและยกกองทัพมาล้อมเมืองดาหา ท้าว ดาหาจึงขอกำลังจาก
พระเชษฐาและพระอนุชา ท้าวกุเรปันมีคำสั่งให้อิเหนาไปช่วยรบ อิเหนาจึงจำใจต้องจากนางจินตะหราและยกกองทัพไปช่วยรบ การศึกครั้งนี้ อิเหนามีชัยชนะ ท้าวกะหมังกุหนิงถูกอิเหนาฆ่าตายและโอรสคือวิหยาสะกำถูกสังคามาระตาฆ่าตาย กองทัพที่ล้อมเมืองดาหาก็แตกพ่ายไป เมื่อชนะศึกแล้ว อิเหนาก็ได้เข้าเฝ้าท้าวดาหาและได้พบกับบุษบา อิเหนาได้เห็นความงามของบุษบาก็หลงรักและเสียดาย พยายามหาอุบายอยู่ในเมืองดาหาต่อไป และพยายามหาโอกาสใกล้ชิดบุษบา โดยอาศัยสียะตราเป็นสื่อรัก อิเหนาพยายามหาวิธีการทุกทางเพื่อจะได้บุษบาเป็นของตน เช่นตอนที่ท้าว
ดาหาไปใช้บนที่เขาวิลิศมาหรา อิเหนาได้แอบสลักสารบนกลีบดอกปะหนัน (ลำเจียก) ให้นาง แอบเข้าไปในวิหารพระปฏิมา ตรัสตอบคำถามแทนพระปฏิมา ต้อนค้างคาวมาดับไฟแล้วแอบมากอดนาง ตลอดจนคาดคั้นมะเดหวีให้ช่วยเหลือตน เป็นต้น และเมื่อท้าวดาหาจะจัดพิธีอภิเษกระหว่างบุษบากับระตูจรกา อิเหนาก็ใช้วิธีการสุดท้ายโดยการทำอุบายเผาเมือง แล้วลอบพานางบุษบาหนีออกจากเมืองไปซ่อนในถ้ำที่เตรียมไว้ และได้นางเป็นมเหสี


เนื้อเรื่องตอนที่ 3 ปัญหาใหม่ และการมะงุมมะงาหรา
หลังจากอิเหนากับบุษบาเข้าใจกันแล้ว ก็เกิดความยุ่งยากใหม่ขึ้นกับตัวละครอีก เพราะองค์ปะตาระกาหลาทรงพิโรธอิเหนา
ที่ก่อเหตุวุ่นวายมาตลอด จึงดลบันดาลให้ลมหอบเอานางบุษบาพร้อมพี่เลี้ยงสองนาง ไปตกในเมืองปะมอตัน
ขณะที่อิเหนาเข้าไปในเมืองดาหาเพื่อแก้สงสัย อิเหนากลับมาไม่พบบุษบาก็ปลอมองค์เป็นปันหยีออกตามหา พร้อมกับนำวิยะดาไปด้วยกับตน โดยให้ปลอมเป็นปันหยีชื่อเกนหลงหนึ่งหรัด ผ่านเมืองใดก็รบพุ่งเอาไปเป็นเมืองขึ้นไปตลอดรายทาง จนถึงเมืองกาหลัง จึงได้เข้าไปขอพักอาศัยอยู่ด้วย


ส่วนบุษบา หลังจากลมหอบไปยังเมืองปะมอตันแล้ว องค์ปะตาระกาหลา ก็สำแดงตนบอกเล่า เรื่องราวให้ทราบว่า นี่เป็นการลงโทษอิเหนา ทั้งสองจะต้องผจญความลำบากอยู่ระยะหนึ่ง จึงจะได้พบกันองค์ปะตาระกาหลาได้แปลงตัวบุษบาให้เป็นชาย มอบกริชจารึกพระนามว่ามิสาอุณากรรณ ให้มีความสามารถทางการรบ หลังจากนั้น อุณากรรณเดินทางเข้าเมืองปะมอตัน ท้าวปะมอตันรับเลี้ยงไว้เป็นโอรส ต่อมาอุณากรรณกับพี่เลี้ยงก็ยกพลออกเดินทางเพื่อตามหาอิเหนา ผ่านเมืองใดเจ้าเมืองไม่อ่อนน้อมก็รบพุ่งได้ชัยชนะหลายเมือง จนกระทั่งถึงเมืองกาหลัง ได้พบกับปันหยี ทั้งสองฝ่ายต่างก็แคลงใจว่าอีกฝ่ายคือบุคคลที่ตนเที่ยวหา แต่ก็ไม่กล้าเปิดเผยตัว ได้แต่สังเกตและคุมเชิงกันอยู่
ที่เมืองกาหลัง ปันหยีและอุณากรรณได้เข้าอ่อนน้อมต่อท้าวกาหลัง ท้าวกาหลังก็ทรงโปรดทั้งสองเหมือนโอรส ต่อมามีศึกมาประชิดเมืองเพราะท้าวกาหลังไม่ยอมยกธิดา คือสะการะหนึ่งหรัดให้ ปันหยีและอุณากรรณอาสารบ
และสามารถชนะศึกได้อย่างง่ายดาย เหตุการณ์นี้ทำให้ปันหยี อุณากรรณและสะการะหนึ่งหรัดใกล้ชิดสนิดสนมกันมากยิ่งขึ้น ทำให้อุณากรรณกลัวความจะแตกว่านางเป็นหญิง กอปรกับต้องการติดตามหาอิเหนาต่อไป จึงทูลลาท้าวกาหลังกลับเมืองปะมอตัน แต่นางออกอุบายให้ทหารกลับเมืองตามลำพัง ส่วนนางกับพี่เลี้ยงหนีไปบวชชี (แอหนัง) เพื่อหาทางหลบหนีการตามพัวพันของปันหยี
ฝ่ายสียะตราแห่งเมืองดาหา ครั้นทำพิธีโสกันต์เสร็จก็แอบหนีพระบิดาปลอมตัวเป็นปัจจุเหร็จโจรป่าชื่อ ย่าหรัน ออกเดินทางหาอิเหนาและบุษบา องค์ปะตาระกาหลาแปลงเป็นนกยูงมาล่อย่าหรันไปถึงเมืองกาหลังได้เข้าเฝ้าและพำนักอยู่ในเมือง ต่อมาย่าหรันและปันหยีเกิดต่อสู้กัน เพราะเกนหลงหนึ่งหรัดเป็น ต้นเหตุ ในที่สุดอิเหนาและสียะตราก็จำกันได้ เพราะมองเห็นกริชของกันและกัน


ต่อมาปันหยีทราบว่ามีแอหนังบวชบนภูเขา รูปงามละม้ายบุษบา จึงออกอุบายปลอมตัวเป็นเทวดาหลอกนางมายังเมืองกาหลัง เมื่อปันหยีพิศดูนางก็ยิ่งละม้ายนางบุษบา แต่พอเห็นกริชของนาง ชื่ออุณากรรณ ก็เข้าใจว่านางเป็นชายาของอุณากรรณ ฝ่ายพี่เลี้ยงของปันหยีคิดเล่นหนังทดสอบแอหนัง โดยผูกเรื่องตามชีวิตจริงของอิเหนากับบุษบาทุก ๆ ตอน นางแอหนังฟังเรื่องราวก็ร้องไห้คร่ำครวญ ทั้งสองฝ่ายจึงจำกันได้ อิเหนาจึงให้นางสึกจากชี ระเด่นทั้งสี่ คือ อิเหนา บุษบา สียะตรา และวิยะดา จึงพบกันและจำกันได้หลังจากดั้นด้นติดตามกันโดยปราศจากทิศทาง (มะงุมมะงาหรา) เสียนาน


เนื้อเรื่องตอนที่ 4 ปิดเรื่อง
กษัตริย์วงศ์เทวาได้มาพร้อมกัน ณ เมืองกาหลัง หลังจากทราบเรื่องและเข้าใจกันดีแล้ว จึงได้มีการ
อภิเษกสมรสกันขึ้นระหว่างคู่ตุนาหงันในวงศ์เทวา พร้อมทั้งอภิเษกธิดาระตูอื่น ๆ เป็นมเหสีกษัตริย์วงศ์เทวาจนครบตำแหน่ง เช่น อิเหนาอภิเษกกับบุษบาและจินตะหรา โดยบุษบาเป็นประไหมสุหรีฝ่ายซ้าย จินตะหราเป็นประไหมสุหรีฝ่ายขวา สะการะวาตีเป็นมะเดหวีฝ่ายขวา มาหยารัศมีเป็นมะเดหวีฝ่ายซ้าย บุษบาวิลิศเป็นมะโตฝ่ายขวา บุษบากันจะหนาเป็นมะโตฝ่ายซ้าย ระหนากะระติกาเป็นลิกูฝ่ายขวา อรสานารีเป็นลิกูฝ่ายซ้าย สุหรันกันจาส่าหรี เป็นเหมาหลาหงีฝ่ายขวา หงยาหยาเป็นเหมาหลาหงีฝ่ายซ้าย สียะตราอภิเษกกับวิยะดา สุหรานากงกับสะการะหนึ่งหรัด กะหรัดตะปาตีกับบุษบารากา สุหรานากงครองเมืองสิงหัดส่าหรี กะหรัดตะปาตีครองเมืองกาหลัง.